ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อที่มีมาแต่อดีต

ในประเทศไทย ความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ และความศรัทธาเป็นของที่อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน ในทุกความเชื่อและประเพณีของชาติไทย “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “ศาลหลักเมือง” คือหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาของคนในแต่ละจังหวัดได้อย่างไม่น่าเหลือเชื่อ เพราะเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อที่ผูกพันชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรมไทยอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ยุคสุโขทัยผ่านยุคอยุธยาและมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ศาลหลักเมืองไม่เพียงแต่พื้นที่ที่สำคัญสำหรับการประกอบพิธีกรรมในแต่ละจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและวัฒนธรรมที่มีความเป็นไทยสืบสานกันต่อมา

การที่แต่ละเมือง (จังหวัด) ต่างมีศาลหลักเมืองเป็นของตนเอง ไม่เพียงแสดงถึงความเชื่อและความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน และประชากรในพื้นที่นั้นที่มีตั้งแต่ในอดีตต่อเมือง ดังนั้นบทความในครั้งนี้เราจะพาไปสำรวจประวัติและความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกันว่าทำไมถึงมีขึ้นมา และมีความเชื่ออะไรจึงทำให้กลายเป็นดั่งศูนย์รวมของคนในแต่ละเมือง (จังหวัด)

ร่องรอยประวัติความเป็นของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ศาลหลักเมือง” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่รวมความเชื่อและพิธีกรรมของหลายศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งศาสนาพุทธ, พราหมณ์ และศาสนาพื้นบ้านแบบจีน มักตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชัยภูมิสำคัญของเมืองอย่าง “เสาหลักเมือง” โดยแต่ครั้งก่อนที่จะสร้างเมืองในแต่ละพื้นที่ (จังหวัด) มักจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในพื้นที่ที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ หรือเป็นใจกลางเสมอ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

การสร้าง “เสาหลักเมือง” ในประเทศไทยเป็นประเพณีที่เก่าแก่ มีมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย และยังดำเนินต่อมาในยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประเพณีการสร้างเสาหลักเมืองนี้มีรากฐานมาจากประเพณีพราหมณ์ของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมิ่งขวัญและนิมิตมงคลให้กับบ้านเมืองที่กำลังจะสร้างขึ้นมา และยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตำแหน่งหลักของเมือง เพื่อช่วยให้บ้านเมืองนั้นอยู่ร่มเย็นและอยู่กันอย่างเป็นสุข นอกจากนี้การสร้างเสาหลักเมือง ยังไม่เพียงแต่เป็นประเพณีที่เป็นความเชื่อก่อนตั้งรากฐานสร้างเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนดั่งเครื่องหมายทางศาสนาและพิธีกรรม ให้ประชาชนหรือคนในพื้นที่ได้รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันอีกด้วย

ถ้าให้ยกตัวอย่าง ศาลหลักเมืองที่เห็นได้ชัดเลยคือ “ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ” ที่เป็นศาลเจ้าตั้งอยู่คู่กับเสาหลักเมืองที่อยู่ใจกลางกรุงเทพ เป็นสถานที่สำคัญที่ชาวกรุงเทพฯ เคารพและให้ความนับถือกันมาอย่างยาวนาน มักมีการเข้าไปกราบไหว้เพื่อขอพรและความสำเร็จในชีวิต โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีประเพณีหรือพิธีการที่เกี่ยวข้องกับเสาหลักเมืองมักจะจัดขึ้นในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์หรือวันเริ่มต้นปีใหม่ไทย

ซึ่งอย่างไรก็ดีศาลหลักเมืองในแต่ละเมือง (จังหวัด) จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา และอิทธิพลที่ได้รับเข้ามาในแต่ละพื้นที่ แต่โดยหลักแล้ว “ศาลหลักเมือง” หรือ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” จะเป็นสถานที่ที่มีอยู่ในทุกที่ของแต่ละจังหวัด แต่จะมีขนาดความใหญ่ หรือความอลังการแตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างเช่น “ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี” ซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า “ศาลเทพารักษ์หลักเมือง” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมศิลปะหลาย ๆ ด้าน ทั้งพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเม็ง และรูปปั้นมังกรสวรรค์ที่เป็นความเชื่อของจีนผสมผสานลงไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำรูปปั้นหรือปูนปั้นต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเชื่อมาจัดตั้งแสดงให้ชาวเมือง หรือผู้คนได้เข้ามากราบไหว้บูชาอยู่ด้วย

ซึ่งอย่างไรก็ดี “ศาลหลักเมือง” หรือ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” ยังคงเป็นเหมือนดั่งศูนย์กลางของคนในแต่ละเมือง (จังหวัด) ให้รู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียว และยังเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการประกอบพิธีกรรม หรือประเพณีที่สำคัญของคนในแต่ละจังหวัดด้วย

ความเชื่อต่าง ๆ ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ความเชื่อต่าง ๆ ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ในอดีตมีความเชื่อที่ว่า ในทุกครั้งที่การจะมีการสร้างเสาหลักเมืองจะต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ หรือพิธีฝังเสาหลักเมืองด้วยการจับคน 4 คน (ไม่มีการระบุว่าเป็นใคร) ไปฝังลงในหลุมเสาหลักแบบทั้งเป็น เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านี้อยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท และคอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันไม่ให้อริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ของเมือง แต่ความเชื่อนี้ก็เป็นเพียงความเชื่อส่วนหนึ่งของคนที่เล่าต่อมาในอดีต ไม่ได้มีถูกบันทึกในพงศาวดารแต่อย่างใด

โดยในปัจจุบัน “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “ศาลหลักเมือง” มีความเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นวิญญาณผู้คุ้มครองและปกป้องบ้านเมืองไม่ให้ตกอยู่ในภัยพิบัติหรืออันตรายใด ๆ และยังคอยส่งเสริมให้เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่จึงมักจะเข้ามาที่ศาลเพื่อกราบไหว้และขอพรเมื่อมีเรื่องสำคัญ หรือแม้แต่เรื่องธรรมดาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าการได้รับพรจากเจ้าพ่อหลักเมืองจะช่วยให้ชีวิตอยู่ร่มเย็นเป็นสุข และสำเร็จความหวังได้ทุกประการ

ประเพณี วัฒนธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ในใจกลางของเมืองหลาย ๆ เมืองทั่วประเทศไทย มีสถานที่สำคัญหนึ่งต้องมีอยู่เสมอเลยคือ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “ศาลหลักเมือง” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เพียงแต่ศูนย์รวมของความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในพื้นที่ไว้ แต่ยังเป็นพื้นที่เก็บรักษาความเชื่อและประเพณีอันสำคัญของบ้านเมืองในแต่ละพื้นที่เอาไว้อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น “พิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี” ประเพณีอันเก่าแก่ของชาวอุบลราชธานีที่จะมารวมตัวกันที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี พิธีกรรมนี้ถูกจัดขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้เมืองและชุมชนมีความเป็นสุข ร่มเย็น และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเก่าแก่ของจังหวัดให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดไปยังรุ่นต่อไป

หรือ “ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง” ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปีบริเวณริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของจังหวัดสมุทรสาคร โดยจะอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองไปประทับเกี้ยวลงเรือประมงประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีนจากตลาดมหาชัยไปฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับชาวสมุทรสาคร หรือประชาชนที่เข้ามารับชม

กล่าวได้เลยว่าพิธีกรรมหรือประเพณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในพื้นที่ หรือบริเวณ “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความรื่นเริงให้กับชาวเมืองและชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อ และความศรัทธาที่มีตั้งแต่ในอดีตต่อศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ในเมืองนั้น ๆ ด้วย

บทสรุป

สรุปให้เข้าใจว่า “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลหลักเมือง” ที่เราเห็นอยู่ได้ทุกตามเมือง หรือทุกจังหวัดในประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่สำคัญทางศาสนาหรือวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาที่มีมาอย่างยาวนานในสังคมไทย ตั้งแต่ยุคสุโขทัย จนมาถึงยุครัตนโกสินทร์ โดยทำหน้าที่เป็นเหมือนดั่งศูนย์รวมจิตวิญญาณของคนในชุมชน คอยเก็บรักษาความเชื่อและประเพณีอันดีงามไว้ถ่ายทอดให้ยังรุ่นต่อไปอีกด้วย เพื่อเป็นการสร้างสิริมงคล และความร่มเย็นให้กับชาวบ้าน และบ้านเมือง

ซึ่งพิธีกรรมหรือประเพณีท้องถิ่นต่าง ๆ ที่จัดขึ้นที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในแต่ละจังหวัดเป็นการยืนยันต่อความเชื่อมโยงของชาวบ้านที่มีต่อเมืองนั้น ๆ และยังเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจและการเคารพต่อวิถีชีวิตที่ได้รับการสืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน ซึ่งการยึดมั่นในความเชื่อเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้คนในชุมชนรู้สึกผูกพันและเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น แต่ยังช่วยให้พวกเขาสามารถรับมือและผ่านพ้นความยากลำบากไปด้วยกันได้อีกด้วย

Relate Post

25/11/2024
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อที่มีมาแต่อดีต

ในประเทศไทย ความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ และความศรัทธาเป็นของที่อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน ในทุกความเชื่อและประเพณีของชาติไทย “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “ศาลหลักเมือง” คือหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาของคนในแต่ละจังหวัดได้อย่างไม่น่าเหลือเชื่อ เพราะเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อที่ผูกพันชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรมไทยอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ยุคสุโขทัยผ่านยุคอยุธยาและมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ศาลหลักเมืองไม่เพียงแต่พื้นที่ที่สำคัญสำหรับการประกอบพิธีกรรมในแต่ละจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและวัฒนธรรมที่มีความเป็นไทยสืบสานกันต่อมา การที่แต่ละเมือง (จังหวัด) ต่างมีศาลหลักเมืองเป็นของตนเอง ไม่เพียงแสดงถึงความเชื่อและความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน และประชากรในพื้นที่นั้นที่มีตั้งแต่ในอดีตต่อเมือง ดังนั้นบทความในครั้งนี้เราจะพาไปสำรวจประวัติและความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกันว่าทำไมถึงมีขึ้นมา และมีความเชื่ออะไรจึงทำให้กลายเป็นดั่งศูนย์รวมของคนในแต่ละเมือง (จังหวัด) ร่องรอยประวัติความเป็นของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ศาลหลักเมือง” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่รวมความเชื่อและพิธีกรรมของหลายศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งศาสนาพุทธ, พราหมณ์ และศาสนาพื้นบ้านแบบจีน มักตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชัยภูมิสำคัญของเมืองอย่าง “เสาหลักเมือง” โดยแต่ครั้งก่อนที่จะสร้างเมืองในแต่ละพื้นที่ (จังหวัด) มักจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในพื้นที่ที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ หรือเป็นใจกลางเสมอ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น การสร้าง “เสาหลักเมือง” ในประเทศไทยเป็นประเพณีที่เก่าแก่ มีมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย และยังดำเนินต่อมาในยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประเพณีการสร้างเสาหลักเมืองนี้มีรากฐานมาจากประเพณีพราหมณ์ของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมิ่งขวัญและนิมิตมงคลให้กับบ้านเมืองที่กำลังจะสร้างขึ้นมา และยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตำแหน่งหลักของเมือง เพื่อช่วยให้บ้านเมืองนั้นอยู่ร่มเย็นและอยู่กันอย่างเป็นสุข นอกจากนี้การสร้างเสาหลักเมือง ยังไม่เพียงแต่เป็นประเพณีที่เป็นความเชื่อก่อนตั้งรากฐานสร้างเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนดั่งเครื่องหมายทางศาสนาและพิธีกรรม ให้ประชาชนหรือคนในพื้นที่ได้รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันอีกด้วย ถ้าให้ยกตัวอย่าง […]

Read More
11/11/2024
เคล็ดลับจัดวางรูปปั้นในบ้านตามหลักฮวงจุ้ย วางยังไงให้เฮง

ฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์โบราณที่มีต้นกำเนิดมาจากจีน มีจุดประสงค์เพื่อสร้างสมดุลและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของผู้อยู่อาศัย การจัดวางสิ่งของในบ้านหรือที่ทำงานตามหลักฮวงจุ้ยนั้น สามารถช่วยเสริมพลังงานบวกพร้อมกับดึงดูดโชคลาภเข้ามาได้อย่างน่าอัศจรรย์ตามหลักความเชื่อเกี่ยวกับการจัดสรรพลังงานตามธรรมชาติ  โดยในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับเคล็ดลับการจัดวางรูปปั้นตามหลักฮวงจุ้ย วางยังไงให้เฮง! พร้อมกับอธิบายถึงความสำคัญของรูปปั้นในฮวงจุ้ย และนำเสนอวิธีการจัดวางเพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดบ้านหรือที่ทำงานได้อย่างตรงใจ พร้อมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความสุขเพื่อเสริมพลังใจในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่  การวางรูปปั้นในบ้านเกี่ยวข้องกับหลักฮวงจุ้ยอย่างไร? ในหลักฮวงจุ้ย รูปปั้นถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สามารถเสริมพลังงานให้กับบ้านหรือที่ทำงานได้ไม่น้อยทีเดียว ทำให้การเลือกรูปปั้นที่ถูกต้องไปจนถึงการจัดวางให้เหมาะสม สามารถช่วยเสริมความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง และความมั่นคงในชีวิต ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้รูปปั้นที่มีความหมาย ให้พลังงานที่ดี เช่น มังกร ช้าง เต่า สิงโต หรือเทพเจ้า จะช่วยดึงดูดพลังงานบวกเข้ามาในพื้นที่นั้นได้ ในทฤษฎีฮวงจุ้ย พลังงานชี่จะต้องไหลเวียนได้อย่างราบรื่นและไม่มีสิ่งกีดขวาง การจัดวางสิ่งของในบ้านหรือที่ทำงานจึงต้องทำให้พลังงานนี้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ เช่น การวางรูปปั้นไม่ควรวางในที่ที่แออัดหรือมืด ควรวางในที่ที่ได้รับแสงสว่างเพียงพอและสะอาด เพื่อให้พลังงานไหลเวียนได้ดี ซึ่งในอีกอีกหนึ่งเรากำลังพูดถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริม(หรือกระตุ้น)จิตใจและอารมณ์ นี่คือจุดที่วิทยาศาสตร์สามารถเข้ามาอธิบายได้ดี เพราะงานวิจัยทางจิตวิทยาได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการจัดวางสิ่งของในบ้านหรือที่ทำงานอย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย จะสามารถช่วยลดความเครียดไปจนถึงเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายได้ดี  โดยการสะท้อนให้เห็นถึงภาพของพลังงานที่ถูกจัดวางไว้แบบนี้จะทำให้ผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้นรู้สึกถึงมนต์ขลังได้อย่างน่าเหลือเชื่อ นี่คือสิ่งที่ส่งผลกับจิตใจโดยตรง เป็นหนึ่งในพลังหรือแรงบันดาลใจให้เราสามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น การจัดวางรูปปั้นในตำแหน่งต่าง ๆ ของบ้านตามหลักฮวงจุ้ย การจัดวางรูปปั้นในบ้านตามหลักฮวงจุ้ยไม่ใช่แค่การเพิ่มความสวยงามให้กับบ้าน แต่ยังเป็นการเสริมพลังงานบวกและดึงดูดโชคลาภ ความสุข และความเจริญรุ่งเรืองเข้ามา การเลือกตำแหน่งและรูปปั้นที่เหมาะสมจะช่วยเสริมความสมดุลและความสงบสุขให้กับชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย มาดูกันว่าการวางรูปปั้นในแต่ละตำแหน่งของบ้านตามหลักฮวงจุ้ยนั้นควรทำอย่างไร มีจุดไหนที่ต้องสังเกตเป็นพิเศษ หน้าประตูบ้านเป็นจุดแรกที่พลังงานจะเข้ามาในบ้าน การจัดวางรูปปั้นในตำแหน่งนี้จึงมีความสำคัญมาก เพื่อเสริมพลังงานบวกและป้องกันพลังงานลบ การจัดวางรูปปั้นช้างหรือสิงโตคู่ที่หน้าประตูบ้านมักเป็นที่นิยม […]

Read More
28/10/2024
รูปปั้นสัตว์ ของตกแต่งคู่กับความเชื่อที่เจอได้ทุกที่

ของตกแต่งบางอย่างมักมีความเชื่อมาอยู่คู่ด้วยเสมอ บางสิ่งเชื่อว่าใส่แล้วจะโชคดีแบบนี้ บางสิ่งมีตกแต่งในบ้านหรือพื้นที่ธุรกิจแล้วจะเสริมดวง เสริมโชค โดยของตกแต่งอย่างหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นสิ่งที่คุณจะพบเห็นได้บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือตามสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อต่าง ๆ อยู่ด้วยนั้นคือ “รูปปั้นสัตว์” ของตกแต่งที่มักมาคู่กับความเชื่อและสายมูอยู่เสมอ รูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ กับความเชื่อของไทย เรามักเห็นได้เสมอตามสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อต่าง ๆ ของไทยเรา มักจะมีของตกแต่งอย่างรูปปั้นสัตว์หลายชนิดอยู่คู่ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ม้าลาย เสือ วัว หรือช้าง แต่เคยรู้หรือไม่ว่าสัตว์เหล่านี้มีความเชื่อแบบไหน และตัวรูปปั้นสัตว์แต่ละตัวแสดงถึงอะไรบ้าง วันนี้เราจะพามาดูกัน 1.รูปปั้นม้าลาย หนึ่งในรูปปั้นที่พบเห็นได้บ่อยตามสถานที่ต่าง ๆ บริเวณริมถนน โดยตัวรูปปั้นม้าลายมีความเชื่อว่า หากนำรูปปั้นม้าลายไปวางบริเวณพื้นที่ไหนจะแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางถนน แต่ไม่ว่าจะมีความเชื่อแบบใดก็ตาม หากยังขับรถด้วยความประมาทก็ยังทำให้ประสบอุบัติเหตุได้อยู่ดี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่ารูปปั้นม้าลายเป็นเหมือนดั่งสัญลักษณ์คอยเตือนภัยให้กับผู้ขับรถบนท้องถนนให้รู้ว่าบริเวณนั้นเกิดอุบัติเหตุบ่อยอีกด้วย 2.รูปปั้นช้าง ช้างเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทย และเป็นเหมือนดั่งสัญลักษณ์ของประเทศไทย จึงทำให้รูปปั้นช้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รูปปั้นช้างนับเป็นสิ่งหนึ่งที่เราคนไทยมักนำไปใช้แก้บนบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะไปบนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไหนก็ตาม หากนึกสิ่งแก้บนไม่ออก รูปปั้นช้างมักเป็นคำตอบได้เสมอ โดยตัวช้างนี้เป็นเหมือนดั่งสัญลักษณ์แห่งพลัง ความเฉลียวฉลาด และแสดงความเป็นอำนาจ และในทางความเชื่อช้างยังช่วยส่งเสริมความมั่นคงของการทำธุรกิจ และทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขได้ 3.รูปปั้นเสือ รูปปั้นเสือไม่ได้เป็นรูปปั้นที่พบเห็นในเมืองได้บ่อยนัก แต่จะพบเห็นได้สถานที่ต่างจังหวัดที่เป็นป่า หรือภูเขา ด้วยตัวรูปปั้นเสือมีความเชื่อว่า สามารถป้องกันจากภัยอันตรายและสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ […]

Read More

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดต่อเรา
ปูนปั้นช่างบรรจง รับปั้นรูปสัตว์ต่างๆ
ไก่ปูนปั้น ช้าง ม้า วัว ควาย ช้างทรง ม้าทรง ราคาถูกสั่งได้สอบถามก่อนได้ครับ
Line ID : 0819091660
add-line-icon
สถานที่ตั้งหน้าร้าน...
ร้านตั้งอยู่ก่อนถึงหมู่บ้านนนท์ณิชาบางใหญ่ 2 ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี