“ม้าทรง” พาหนะคู่บุญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หากพูดถึงพาหนะคู่บุญของพระมหากษัตริย์ แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นต้องมีจะ “ม้าทรง” เพราะถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมีที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงนำมาเป็นพาหนะขณะทำศึกสงคราม เนื่องจากมีความปราดเปรียว ว่องไว เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้ทรงเลือกม้าเป็นม้าทรงในการทำ ศึกสงคราม จนมีการขนานนามว่าพระองค์ทรงเป็น “นักรบบนหลังม้า” ทำให้พระบรมราชานุสาวรีย์ พระเจ้าตากสินมหาราชส่วนใหญ่จะเป็นรูปปั้นพระองค์ทรงม้าออกรบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชคู่กับม้าทรง ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนใหญ่ ถนนประชาธิปก เป็นรูปปั้นพระเจ้าตากสินในลักษณะทรงม้า พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ มีความสูงจากเท้าม้าถึงยอดพระมาลา 9 เมตร ฐานอนุสาวรีย์เป็นแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 8.90 เมตร กว้าง 1.80 เมตร ยาว 3.90 เมตร

นอกจากนี้ สองด้านของแท่นฐานมีรูปปั้นนูนด้านละ 2 กรอบรูป ถ่ายทอดภาพประวัติศาสตร์อยู่ 4 รูป โดยรูปแรกเป็นรูปประชาชนทุกวัยแสดงอาการโศกเศร้าหมดความหวังเมื่อกรุงแตก รูปที่สองเป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู้กู้อิสรภาพ รูปที่สามเป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงต่อสู้ข้าศึก และรูปสุดท้ายคือรูปประชาชนพลเมืองมีความสุขที่กอบกู้อิสรภาพได้สำเร็จ โดยอนุสาวรีย์นี้ได้เปิดปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และมีพิธีสักการะพระบรมรูป ในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี หรือที่เรียกว่า วันถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เปิดประวัติ เล่าเรื่อง “ม้าทรง” ในพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช

ม้าทรง 2

หากใครมีโอกาสได้แวะเวียนไปแถววงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี อยากให้ลองสังเกตรูปปั้นม้าทรงของ พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช แล้วจะเห็นว่าหางของม้านั้นไม่ได้ลู่ลงอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งผิดวิสัยของม้าในขณะที่หยุดวิ่ง ซึ่งประเด็นนี้ทำให้กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นวงกว้างจากทั้งสถาปนิก และนักวิจารณ์ศิลปะ

อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชนี้ ได้ออกมาพูดว่า “ถ้าพูดถึงลักษณะกายวิภาคของม้า ตรงส่วนโคนหางนั้นมีกระดูกอยู่จึงทำให้ม้าสามารถยกหางขึ้นได้เล็กน้อย ส่วนขนที่อยู่ในหางถ้าพูดกันตามหลักความเป็นจริงก็ยกไม่ได้ แต่ด้วยแรงแกว่ง หรือแรงลม จึงทำให้หางม้าสามารถปลิวไสว และยกขึ้นได้อย่างที่เห็น อีกหนึ่งเหตุผลที่หางม้ายกขึ้นนั่นก็เพราะต้องการปั้นให้ม้าตัวนี้มีลักษณะตื่นตัว พร้อมรบเต็มที่”

นอกจากนี้ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังอธิบายไว้เพิ่มเติมในเรื่องของหางม้าที่ชี้ขึ้นอีกว่า พระเจ้าตากสินและม้าต่างก็อยู่ในอาการตึงเครียด พระองค์กระชับบังเหียนเพื่อจะรุดไปข้างหน้า และม้าทรงก็ตื่นเต้นคึกคักที่จะพุ่งไปข้างหน้าเช่นกัน เมื่อเป็นดังนี้ หู และหางที่ชันชี้ จึงสอดคล้องกับความตื่นคะนองของสัตว์อย่างที่ทุกคนเห็นกันนั่นเอง

กว่าจะมาเป็นรูปปั้นม้าทรงในพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช

ม้าทรง 3

พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นนักรบบนหลังม้า ดังนั้น พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีม้าทรงอยู่ด้วย แต่กว่าจะมาเป็นรูปปั้นม้าทรงอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั้นไม่ง่าย เพราะนอกจากจะต้องผ่านการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มสถาปนิก และนักศิลปะในเรื่องของหางม้าที่ชี้ขึ้นแล้ว ยังมีการวิจารณ์ถึงขนาดลำตัวของม้าว่าตัวเล็กเกินไป ดูไม่เหมาะสมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตามประวัติของพระเจ้าตากสินมหาราช ม้าทรงของพระองค์นั้นจะเป็นม้าพันธุ์ไทย แต่ม้าที่แรกเริ่มจะนำมาเป็นแบบในการสร้างม้าของพระเจ้าตากนั้นเป็นม้าพันธุ์อาหรับอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าอาจารย์ศิลป์ พีระศรี นั้นยังไม่พอใจ แต่มารู้สึกพอใจกับม้าไทยที่ดูธรรมดา และมีขนาดลำตัวเล็กกว่าพันธ์อาหรับ โดยอาจารย์ศิลป์ได้ให้เหตุผลถึงสาเหตุที่ตัดสินใจเลือกม้าพันธุ์ไทยมาเป็นแบบว่า “ถ้าให้ปั้นม้าตัวใหญ่ ๆ ก็ต้องเป็นม้าจากต่างประเทศ แต่ในยุคสมัยนั้นพระเจ้าตากสินทรงม้าไทย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ปั้นม้าตัวใหญ่”

ประเด็นสุดท้ายที่มีคนท้วงติงก่อนจะมาเป็นรูปปั้นม้าทรงในพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั่นก็คือ ม้ายืนนิ่งวางขาทั้งสี่อยู่ระนาบเดียวกันกับพื้น ไม่มีการยกแข้งยกขาให้ดูพลิ้วไหวแบบที่อื่น ซึ่งประเด็นนี้อาจารย์ศิลป์ก็ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ม้าที่ยืนนิ่งวางขาทั้งสี่อยู่ระนาบเดียวกันนั้นสื่อถึงอารมณ์ที่กำลังเผชิญกับความตายในสนามรบ ท่าทางจึงต้องนิ่ง เพื่อสื่อถึงการอยู่ใต้อาณัติ กล้ามเนื้อทุกมัดบีบเกร็ง ดูเคร่งเครียด ไม่ใช่ยกแข้งยกขาทำราวกับกำลังเดินสวนสนามท่ามกลางเสียงโห่ร้องสรรเสริญ

จะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นรูปปั้นม้าทรงในพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชนั้นไม่ง่ายเอาเสียเลย เพราะกว่าจะนำมาตั้งอยู่กลางวงเวียนใหญ่อย่างสง่าผ่าเผยก็ทำเอาผู้ออกแบบอย่าง อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ต้องออกมาอธิบาย และให้เหตุผลกันอยู่หลายครั้ง แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นการอธิบายที่คุ้มค่า เพราะทำให้ทุกฝ่ายไร้ข้อกังขาจนทำให้มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้าตั้งตระหง่านอยู่กลางวงเวียนใหญ่ถึงทุกวันนี้

Relate Post

06/01/2025
ควายไทย ความเชื่อ และศิลปะไทย ในมุมมองผ่านงานปูนปั้น

สัตว์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง และอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน คงหนีไม่พ้น “ควายไทย” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ขา มีเขา สีดำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่าช่วยสร้างบ้านเมืองให้มีความอุดมสมบูรณ์ คนไทยเราใช้ประโยชน์จากควายมาอย่างมากมาย จนเกิดเป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความเชื่อเกี่ยวกับควายอยู่เป็นจำนวนมาก ในหลาย ๆ พื้นที่ไม่ได้เลี้ยงควายเหมือนกับสัตว์ในฟาร์มทั่ว ๆ ไป แต่ปฏิบัติกับควายเหมือนกับสัตว์เลี้ยง หรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของควาย และผู้คนที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ที่ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีและความสะดวกสบายต่าง ๆ ได้เข้ามาแทนที่การใช้ควายในการทำนา ทำการเกษตรต่าง ๆ แต่ความเชื่อ ความผูกพันเกี่ยวกับควายนั้นยังคงอยู่ ความเชื่อของควายในสังคมไทยนั้นมีอยู่หลากหลายแง่มุม สำหรับความเชื่อทางศาสนาว่ากันว่าทำบุญด้วยการปล่อยควายจะทำให้ได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ หรือความเชื่อเกี่ยวกับควายในทางเกษตรกรรมก็ช่วยในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นสิริมงคลในการเพาะปลูก หรือจะเป็นความเชื่อในเรื่องของฤกษ์ยาม ที่ให้ความหมายถึงความอดทน มั่นคง และความเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับควายไทย ยังรวมไปถึงลักษณะของควายที่มีความสวยงาม ถือว่าเป็นมงคล หรือที่เรียกว่าพญาควายตามตำราโบราณ คือ ปากคาบแก้ว หางเป็นดอก ขาด่างทั้ง 4 ขา และมีเขายาวสวยงาม ขนเรียบ ผิวเป็นมัน รวมทั้งจุดขวัญตามร่างกายต่าง ๆ […]

Read More
06/01/2025
นกปูนปั้น รากลึกของความมงคล และสัญลักษณ์แห่งธรรมชาติที่มีชีวิต

นกปูนปั้น เป็นอีกงานศิลป์หนึ่งที่มีรากลึกในวัฒนธรรมและประเพณีไทยมาอย่างยาวนาน โดยการปั้นนกนั้นถูกสืบทอดมาตั้งแต่ยุคโบราณที่ถูกใช้ในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะในวัดวาอารามและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่ถูกจัดตั้งไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความความอุดมสมบรูณ์และความงามของธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา นอกจากนี้รูปปั้นนกยังถือได้ว่าเป็นประติมากรรมสัตว์มงคลให้ผู้พบเห็น รู้สึกถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและวัฒนธรรมไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่รูปปั้นนกชนิดต่าง ๆ จะได้รับความนิยมในการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยเฉพาะในสวนและบ้านเรือน ประวัติและความสำคัญของนกปูนปั้นในวัฒนธรรมไทย ศิลปะการปั้นนกจากปูนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสร้างวัดในไทย วัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์มักตกแต่งด้วยงานปูนปั้น ซึ่งแสดงถึงทักษะของช่างปั้นที่สามารถถ่ายทอดความงามของธรรมชาติผ่านงานฝีมืออันประณีต นกปูนปั้นในสมัยนั้นถูกปั้นขึ้นมาในลักษณะสัญลักษณ์ทางศาสนา ตัวอย่างเช่น นกยูง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความรุ่งเรืองและความบริสุทธิ์ ส่วนในงานศิลปะของช่างฝีมือบางกลุ่ม นกการเวกถูกปั้นขึ้นมาในฐานะนกที่มีเสียงเพลงอันไพเราะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขและความสงบสุขภายในวัด ในสมัยโบราณ ประติมากรมักปั้นนกจากปูนเพื่อตกแต่งสถานที่ทางศาสนา เช่น วัด หรือศาลเจ้า เท่านั้น นอกจากนี้เรื่องราวของนกนั้นได้ปรากฎในที่ต่าง ๆ มากมายในวัฒนธรรมไทย เช่น วรรณกรรม ตำนาน และเรื่องราวความเชื่อต่าง ๆ โดยนกที่ถูกกล่าวถึงในศิลปะไทยและวัฒนธรรมไทยนั้นมีอยู่หลากหลายชนิดที่มีความหมายที่ทั้งดีและไม่ดี สัญลักษณ์และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับนกปูนปั้น นกในงานศิลปะปูนปั้น ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของธรรมชาติและความสวยงามเท่านั้น แต่ยังแฝงความหมายลึกซึ้งทางจิตวิญญาณและความเชื่อของคนไทยมานานที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ชาวไทยเชื่อว่านกเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความสุข และเสรีภาพ การโบยบินของนกแสดงถึงการหลุดพ้นจากความยากลำบาก และนำพาตนสู่ความสุขและเสรีภาพทางใจ การไปทำบุญปล่อยนกปล่อยปลาที่วัดจึงถือได้ว่าเป็นการทำบุญต่อชีวิตเพื่อเป็นสิริมงคล ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของสุขภาพ ความมั่งคั่ง หรือความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งสอดคล้องกับการประดับตกแต่งนกปูนปั้นในวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และการปลดปล่อยจากสิ่งยึดเหนี่ยวให้ก้าวไปสู่สิ่งที่ดีงาม นกปูนปั้นกับความเชื่อในโชคลาภและความมงคล […]

Read More
13/12/2024
ช้างปูนปั้นในพิธีกรรมไทย บทบาทและความสำคัญในงานประเพณี

ช้างมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่เป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตริย์ไทยในสมัยโบราณ แต่ยังถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่และความศักดิ์สิทธิ์ จนทำให้มี ช้างปูนปั้น ในปัจจุบัน และยิ่งเป็นช้างเผือกแล้วละก็ถือได้ว่าเป็นสัตว์มงคลที่เชื่อว่ามีอำนาจบารมี ปกป้องบ้านเมืองและราชวงศ์เป็นอย่างมาก ในอดีตช้างถูกใช้ในสงคราม ร่วมปกป้องอาณาจักรไทยจากศัตรู และเป็นพาหนะที่แสดงถึงความสูงศักดิ์ของกษัตริย์ นอกจากบทบาททางการเมืองและการทหารแล้ว ช้างยังเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ในศาสนาพุทธ โดยปรากฏอยู่ในตำนานและเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระแม่ธรณี และเทพเจ้าในคติความเชื่อของชาวไทย การนำรูปปั้นช้างเข้ามาใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ หรือพิธีบวงสรวงจึงเป็นการเสริมสิริมงคล ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและปกป้องคุ้มครองผู้ที่เข้าร่วมพิธี ความงามและความศักดิ์สิทธิ์ของช้างปูนปั้น ในวัฒนธรรมไทย ศิลปะช้างปูนปั้นเป็นการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างช้างและวัฒนธรรมไทย การสร้างสรรค์รูปปั้นช้างด้วยปูนปั้นไม่ใช่เพียงเพื่อความงามเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึงความเคารพและยกย่องสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทย ช่างปั้นในอดีตมักจะถ่ายทอดลักษณะของช้างออกมาอย่างละเอียดอ่อน ตั้งแต่ขนาด รูปร่าง ไปจนถึงการแสดงอารมณ์และบุคลิกของช้าง ผ่านท่าทางที่สง่างาม เช่น ช้างยืนหรือนั่งหมอบอยู่ในท่วงท่าที่มีความหมายทางศาสนาและพิธีกรรม โดยปูนปั้นช้างมักถูกใช้ในการตกแต่งสถานที่ทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสื่อถึงการปกปักรักษาและป้องกันสิ่งชั่วร้าย นอกจากนี้ ศิลปะการปั้นช้างยังสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของไทยในประวัติศาสตร์ การใช้ช้างปูนปั้นในงานตกแต่งทางสถาปัตยกรรมจึงไม่เพียงแค่แสดงถึงทักษะทางศิลปะของช่างฝีมือไทย แต่ยังเป็นการเชิดชูสัตว์สัญลักษณ์แห่งชาติที่มีความผูกพันกับราชวงศ์ ศาสนา และประชาชนไทยมาอย่างยาวนาน พลังแห่งช้างปูนปั้น ความสำคัญในงานบุญและประเพณีไทย ช้างปูนปั้น มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมไทยหลากหลายประเภท เนื่องจากช้างถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความเป็นสิริมงคล การใช้ช้างปูนปั้นในพิธีกรรมจึงมีความเชื่อมโยงกับความศักดิ์สิทธิ์และสิริมงคลในหลากหลายบริบท นี่คือตัวอย่างของพิธีกรรมที่มีการใช้ช้างปูนปั้น: […]

Read More

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดต่อเรา
ปูนปั้นช่างบรรจง รับปั้นรูปสัตว์ต่างๆ
ไก่ปูนปั้น ช้าง ม้า วัว ควาย ช้างทรง ม้าทรง ราคาถูกสั่งได้สอบถามก่อนได้ครับ
Line ID : 0819091660
add-line-icon
สถานที่ตั้งหน้าร้าน...
ร้านตั้งอยู่ก่อนถึงหมู่บ้านนนท์ณิชาบางใหญ่ 2 ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี