ศิลปะกับประวัติศาสตร์ไทย มักอยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาเสมอ งานศิลปะที่เราได้เห็นตามศาสนสถาน หรือโบราณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตามกำแพงวัด หรือในตัวโบสถ์วัด รอบ ๆ เจดีย์ หรือพระพุทธรูปท่าทางต่าง ๆ ที่มีทั้งรูปร่างเป็นคน หรือช้างและเล่าเรื่องราวได้ งานศิลปะเหล่านี้ล้วนแต่มีความเชื่อและความศรัทธาอันหนักแน่นจากพระพุทธศาสนาฝังลึกลงไปกระบวนการทำอยู่เสมอ แต่ถึงกระนั้นผู้คนกลับไม่รู้ว่างานศิลปะเหล่านี้คืออะไรกัน แต่รู้หรือไม่ว่างานศิลปะเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่ช่างฝีมือไทยนิยมทำกันมาตั้งแต่ในอดีต และยังสืบทอดกันต่อมายังปัจจุบัน ที่เรียกกันว่า ปฏิมากรรมปูนปั้น ถึงจะเป็นคำที่หลายคนได้ยินบ่อยครั้งก็ตาม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ความหมายที่แท้จริงของคำนี้ เพราะแบบนี้บทความของเราจะพาไปหาคำตอบว่าคืออะไร
ปฏิมากรรมปูนปั้นคืออะไร
ก่อนจะอธิบายว่า ปฏิมากรรมปูนปั้น คืออะไร ขอให้แยกคำและอธิบายความหมายของแต่ละคำให้ชัดเจนก่อน ระหว่าง “ปฏิมากรรม” และ “ปูนปั้น” แล้วค่อยมาอธิบายความหมายเต็มของคำกัน
ปฏิมากรรม คือ ผลงานศิลปะชนิดหนึ่ง ที่มีรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร และมีน้ำหนัก จับต้องและสัมผัสได้ สามารถทำได้ด้วยวัสดุหลายชนิด วัสดุจะเป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างผลงานปฏิมากรรม และวิธีการก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปั้น แกะสลัก หล่อ หรือการประกอบขึ้นรูปตามแม่พิมพ์ และความโดดเด่นของงานศิลปะชนิดนี้คือ แสงและเงา และตัวงานศิลปะจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างเพื่อศาสนาอย่างแท้จริง ผู้สร้างสรรค์ผลงานปฏิมากรรม จะถูกเรียกว่า ปฏิมากร
ปูนปั้น เป็นภูมิปัญญาของคนไทยในอดีต ที่นำ “ปูนขาว” วัตถุดิบสำคัญที่ทำมาจากหินปูนและมักใช้กับปูนปั้น โดยมีส่วนผสมอย่างอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น ทราย น้ำ กาว หรือบางที่ก็ใช้น้ำมัน โดยลักษณะเด่นของตัวปูนขาวคือความยึดหยุ่นจากการใส่น้ำไปแล้วจะมีลักษณะเหมือนดินเหนียว สามารถปั้นหรือทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่ายและหลากหลาย และเมื่อเวลาผ่านไปจนปูนขาวแห้ง ปูนขาวจะมีลักษณะเป็นหินปูนที่แข็งและคงทนอย่างมาก แม้จะผ่านกาลเวลา
เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน ปฏิมากรรมปูนปั้นจะมีความหมายว่า งานศิลปะที่สร้างรูปทรง 3 มิติ โดยมีปูนขาวเป็นวัสดุดิบหลักในการทำขึ้นมา และมีจุดมุ่งหมายในการทำขึ้นเพื่อเป็นศิลปะทางพระพุทธศาสนา ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายและบ่อยที่สุด คือ บริเวณวัดหรือเจดีย์, พระพุทธรูป หรือโบราณสถานต่าง ๆ งานศิลปะใดก็ตามที่มีการสร้างรูปทรงขึ้นมาเป็นแบบ 3 มิติ มีปูนขาวเป็นวัตถุดิบหลักในการทำผลงาน และทำขึ้นเพื่อเป็นศิลปะทางพระพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้ล้วนนับเป็นปฏิมากรรมปูนปั้นได้ทั้งหมด
จุดเริ่มต้นของปฏิมากรรมปูนปั้น
ปฏิมากรรมปูนปั้นนั้นมีจุดเริ่มต้นที่ไม่แน่ชัด แต่มีกลุ่มคนสันนิษฐานไว้ว่า ศิลปะงานแบบนี้มีมาตั้งแต่ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 แล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ที่สร้างด้วยหินและอิฐนั้นมีปูนเป็นส่วนประกอบอยู่ และตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีพุทธศาสนาเกี่ยวข้องด้วย มักใช้ “ปูนปั้น” ประดับตกแต่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า ปฏิมากรรมปูนปั้น ที่ประเทสไทยเรายังมีการใช้งานกันต่อมาอยู่ทุกวันนี้
ปฏิมากรรมปูนปั้น มีกี่ประเภท
งานศิลปะอย่างปฏิมากรรมปูนปั้นมักถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตกแต่งหลายรูปแบบตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตามกำแพงวัด หรืออาคาร โดยมีลักษณะที่สร้างจะเป็นรูปทรง 3 มิติ จับต้องได้หลายแบบ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการปั้น แกะสลัก หล่อ หรือการประกอบขึ้นรูป การแบ่งประเภทนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างกับประติมากรรมทั่วไป แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักตามตัวผลงาน
1. แบบลอยตัว
ปฏิมากรรมลอยตัว คืองานศิลปะที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่าง 3 มิติ ลอยตัว มองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น ปฏิมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ หรือพระพุทธรูป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ที่นับว่าเป็นพระพุทธรูปแบบดั้งเดิม และยังนับเป็นงานปฏิมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย
โดยงานปฏิมากรรมลอยตัวที่มักพบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน คือ เหล่าพระพุทธรูปองค์เล็ก หรือองค์ใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ตามวัด และโบราณสถาน หรือเห็นได้ใกล้ตัวคือ ศาลพระภูมิ หรือปูนปั้นในรูปร่างของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น ช้าง วัว ควาย ตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
2. แบบนูนสูง
ปฏิมากรรมประเภทนูนสูง คือ งานศิลปะที่ไม่ลอยตัว มีฉากพื้นหลัง แต่มีลักษณะเด่นคือตัวงานศิลปะจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง และต้องมีฉากพื้นหลังประกอบอยู่ด้วย ปฏิมากรรมประเภทนูนสูงมักจะถูกใช้ในการตกแต่งตามขอบบน หรือโดยรอบอาคารสถาปัตยกรรมพระพุทธศนา หรือตามฐานอนุสาวรีย์ทั่วไป งานปฏิมากรรมประเภทนี้มักสร้างขึ้นมาเพื่อตกแต่งตามศาสนาสถานมาตั้งแต่อดีต
และในปัจจุบันมักพบเห็นปฏิมากรรมประเภทนี้ได้ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างเช่น อาคารของสถานที่ราชการ สะพานที่มีชื่องเสียง หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
3. แบบนูนต่ำ
ปฏิมากรรมนูนต่ำ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับปฏิมากรรมนูนสูง แต่มีความแตกต่างที่ปฏิมากรรมนูนต่ำนั้น จะแบน หรือบางกว่า งานศิลปะประเภทนี้ไม่ค่อยถูกพบเห็นในอดีตมากนัก แต่จะถูกพบเห็นบ่อยได้ในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ สร้อยพระที่ห้อยคอกัน หรือเหรียญพระ ใกล้ตัวอีกนิดก็อย่าง เหรียญบาท เหรียญสิบ ที่เราใช้กันก็นับเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำเช่นกัน เรียกได้ว่างานศิลปะประเภทนี้ เหมาะกับการนำมาทำเครื่องประดับ เครื่องรางทางพระพุทธศาสนา หรือของที่มีขนาดเล็ก
อาจกล่าวได้ว่าปฏิมากรรมปูนปั้นเป็นศิลปะที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ไทยเรามาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ว่าจะไปสถานที่ไหน ๆ ก็ล้วนแต่ต้องมีปฏิมากรรมปูนปั้นตกแต่งอยู่ด้วยแทบทุกที่ หากให้เข้าใจง่าย ที่ไหนเป็นสถานที่ที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาอยู่ ที่นั้นย่อมต้องมีปฏิมากรรมตกแต่งอยู่ด้วยเสมอ และเราพูดได้เลยว่าศิลปะอย่างปฏิมากรรมปูนปั้น เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาที่คนไทยเราควรเก็บรักษาและดำรงสืบต่อไป