ในประเทศไทย ความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ และความศรัทธาเป็นของที่อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน ในทุกความเชื่อและประเพณีของชาติไทย “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “ศาลหลักเมือง” คือหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาของคนในแต่ละจังหวัดได้อย่างไม่น่าเหลือเชื่อ เพราะเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อที่ผูกพันชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรมไทยอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ยุคสุโขทัยผ่านยุคอยุธยาและมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ศาลหลักเมืองไม่เพียงแต่พื้นที่ที่สำคัญสำหรับการประกอบพิธีกรรมในแต่ละจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและวัฒนธรรมที่มีความเป็นไทยสืบสานกันต่อมา การที่แต่ละเมือง (จังหวัด) ต่างมีศาลหลักเมืองเป็นของตนเอง ไม่เพียงแสดงถึงความเชื่อและความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน และประชากรในพื้นที่นั้นที่มีตั้งแต่ในอดีตต่อเมือง ดังนั้นบทความในครั้งนี้เราจะพาไปสำรวจประวัติและความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกันว่าทำไมถึงมีขึ้นมา และมีความเชื่ออะไรจึงทำให้กลายเป็นดั่งศูนย์รวมของคนในแต่ละเมือง (จังหวัด) ร่องรอยประวัติความเป็นของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ศาลหลักเมือง” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่รวมความเชื่อและพิธีกรรมของหลายศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งศาสนาพุทธ, พราหมณ์ และศาสนาพื้นบ้านแบบจีน มักตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชัยภูมิสำคัญของเมืองอย่าง “เสาหลักเมือง” โดยแต่ครั้งก่อนที่จะสร้างเมืองในแต่ละพื้นที่ (จังหวัด) มักจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในพื้นที่ที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ หรือเป็นใจกลางเสมอ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น การสร้าง “เสาหลักเมือง” ในประเทศไทยเป็นประเพณีที่เก่าแก่ มีมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย และยังดำเนินต่อมาในยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประเพณีการสร้างเสาหลักเมืองนี้มีรากฐานมาจากประเพณีพราหมณ์ของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมิ่งขวัญและนิมิตมงคลให้กับบ้านเมืองที่กำลังจะสร้างขึ้นมา และยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตำแหน่งหลักของเมือง เพื่อช่วยให้บ้านเมืองนั้นอยู่ร่มเย็นและอยู่กันอย่างเป็นสุข นอกจากนี้การสร้างเสาหลักเมือง ยังไม่เพียงแต่เป็นประเพณีที่เป็นความเชื่อก่อนตั้งรากฐานสร้างเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนดั่งเครื่องหมายทางศาสนาและพิธีกรรม ให้ประชาชนหรือคนในพื้นที่ได้รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันอีกด้วย ถ้าให้ยกตัวอย่าง […]