ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่แต่ละภูมิภาคมีความเชื่อแตกต่างกัน และในแต่ละพื้นที่ในภูมิภาค มักมีความเชื่อประจำถิ่นของตัวเอง ที่เล่าขานกันมาตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งความเชื่อบางอย่างเหล่านี้ได้มีการประกอบพิธีที่ทำกันต่อมาเรื่อย ๆ ยันปัจจุบัน กลายจนเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีประจำถิ่น และหนึ่งในภาคเหนือนับเป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อเรื่องผีสางมาอย่างยาวนาน และหนึ่งในความเชื่อที่โด่งดังในภาคเหนือ และคนเชียงใหม่รู้จักกันดีกับประเพณีผี ปู่แสะ ย่าแสะ
ประวัติความเป็นมาของ ปู่แสะ ย่าแสะ
ประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ หรืออีกชื่อคือประเพณีเลี้ยงดง เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และมีสถานที่บูชาอยู่จริง จัดที่ทางตอนใต้ของดอยสุเทพ บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เหียะ โดยประเพณีดังกล่าวเป็นการกราบไหว้บูชา ผียักษ์ 2 ตนคือผีปู่และย่าแสะ ซึ่งคนเชียงใหม่มีความเชื่อว่า ปู่และย่าแสะ เป็นเหมือนดั่งผี ผู้ปกป้องคุ้มครองและรักษาเมืองเชียงใหม่ให้อยู่ดีกินดีมาตั้งแต่ในอดีต
โดยมีประวัติความเป็นมาจากตำนานพื้นเมืองที่เล่าว่า เมื่อก่อนปู่และย่าแสะ อาศัยอยู่กัน 3 ตนกับลูกของตนเอง โดยทั้ง 3 ตนเป็นยักษ์ และด้วยความเป็นยักษ์จึงไล่จับกินผู้คน จนสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้คนในพื้นที่บริเวณนั้น และเกิดเป็นเรื่องเล่าบอกต่อกันอย่างแพร่หลาย จนเมื่อกระทั่งพระพุทธเจ้า หรือบางที่ก็เล่าว่าเป็นกลุ่มคณะพระสงฆ์ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา (ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละคน) ได้เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา จนเสด็จมาถึงบริเวณดอยสุเทพ บริเวณที่ยักษ์ทั้งสามอยู่อาศัย และได้ยินเรื่องราวความน่ากลัวของยักษ์ที่กินเนื้อคน จึงได้เสด็จไปหายักษ์ทั้งสาม เพื่อเทศนาไม่ให้สร้างความหวาดกลัว และถือศีล ละเว้นการกินเนื้อมนุษย์ จนยักษ์ทั้งสามเกิดความเลื่อมใส และศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในระดับที่ยักษ์คนลูกศรัทธาพระพุทธศาสนาและขอออกบวช อีกทั้งการเทศนาดังกล่าวได้ขอละเว้นการให้กินเนื้อมนุษย์เสีย แต่ยักษ์ได้ขอต่อรองว่า อย่างน้อยขอกินเนื้อสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ก็ยังดี จนได้ข้อสรุปว่าให้กินเนื้อควายได้ปีละ 1 ครั้ง
ประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ ผู้ปกป้องคุ้มครองเมืองเชียงใหม่
แม้ภายหลังยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ จะสิ้นอายุขัยไปแล้ว แต่ชาวบ้านในบริเวณพื้นที่นั้นยังคงเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์ และความน่ากลัวของยักษ์ทั้งสองอยู่ จึงยังคงมีการจัดพิธีเซ่นสรวจหรือประเพณีเลี้ยงผีดง บูชาถวายควายให้อยูทุกปี โดยพิธีดังกล่าวจะถูกจัดในวันที่ 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เดือนมิถุนายน) ของทุกปี โดยเชื่อว่าวิญญาณของปู่และย่าแสะจะช่วยรักษาและปกป้องคุ้มครองพื้นที่และชาวบ้านให้อยู่อย่างสงบ และปลอดภัย
ด้วยเวลาที่ไหลผ่านไป คนในพื้นที่ หรือคนเชียงใหม่ในอดีต ยังคงสืบทอบและประกอบพิธีกันต่อมาเรื่อย ๆ ด้วยความเชื่อที่ว่า วิญญาณของปู่และย่าแสะเป็นเหมือนดั่งผู้ปกป้องคุ้มครองที่ทำให้ชาวบ้านและเมืองเชียงใหม่ปลอดภัย และสงบสุข พิธีดังกล่าวยังคงถูกจัดมาเรื่อย ๆ อยู่ทุกปี มาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นเหมือนดั่งขนบธรรมเนียม ประเพณีประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่ต้องทำกันทุกปี หรือที่เรียกกันว่า ประเพณีเลี้ยงดงหรือประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ นั้นเอง
ประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ คือพิธีที่มีการถวายควายให้ทุกเดือนมิถุนายนของทุกปี เพื่อเป็นการกราบไหว้บูชาและขอให้วิญญาณปู่และย่าแสะ ปกป้องคุ้มครองชาวบ้าวและเมืองอยู่อย่างสงบสุข ซึ่งรายละเอียดของพิธีนี้ในอดีตมีทั้งการบวงสรวจ ถวายควายที่เป็นสัตว์ตัวเป็น ๆ ฆ่าควายและถวายเนื้อควายสดให้แก่ทั้งวิญญาณสอง ผ่านร่างทรง ซึ่งหากมองในอดีตแล้วอาจจะเป็นเรื่องปกติ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป การเข้าถึงของโลกอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ทำให้รายละเอียดการประกอบพิธีของประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ มีผู้คนได้เห็นกันอย่างแพร่หลาย จนเกิดเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเพณีนี้ไม่เหมาะสมและดูโหดร้ายป่าเถื่อนเกินไปในยุคสมัยนี้ เนื่องจากพิธีต้องฆ่าควายสด ๆ และมีการให้ร่างทรงกินเนื้อควายสดเพื่อเลี้ยงผีปู่และย่าแสะ
อีกทั้งยังเกิดการถกเถียงกันว่า ควรหยุดประเพณีนี้ไป เพราะประเพณีนี้ทั้งงมงาย และดูโหดร้ายทารุณกับสัตว์ (ควาย) มากเกินไป แต่ในฝั่งของชาวบ้าน หรือคนในพื้นที่ก็มีการโต้แย้งโต้เถียงเช่นกันว่า ประเพณีนี้ทำกันมาอย่างยาวนาน และเป็นประเพณีที่สำคัญของคนในพื้นที่ จะให้เลิกทำทันทีได้อย่างไร
การถกเถียงกันกันไปมาอย่างยาวนานนี้เอง ทำให้มีข้อสรุปในจุดตรงกลางที่ยอมรับได้ว่า ประเพณีผีปู่และย่าแสะยังคงมีการถวายควายให้อย่างเหมือนเดิม แต่เป็นในรูปแบบของรูปปั้นควายแทน เพื่อลดความโหดร้ายทารุณต่อสัตว์ และยังเป็นการสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่นี้ต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้พิธีผีปู่แสะ ย่าแสะ หรือประเพณีเลี้ยงดง ของคนเชียงใหม่ในปัจจุบันมีการนำรูปปั้นควายไปถวายบูชาแทน
ซึ่งอดีตกาล ทุกพิธีที่มีการเลี้ยงผีมักจะมีการฆ่าควายเพื่อถวายผีอยู่อย่างเสมอ ในอดีตคนเรามองว่าการฆ่าควายอาจเป็นเรื่องปกติไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร แต่กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ความโหดร้ายทารุณต่อสัตว์ที่มีน้อยลง การฆ่าควายเพื่อประกอบพิธีจึงไม่ใช่เรื่องเหมาะสมสักเท่าไรนักกับยุคสมัยนี้ จึงได้มีการทำรูปปั้นควาย ที่เปรียบเสมือนตัวแทนควาย ในการกราบไหว้บูชา และประกอบพิธีแทน
ศาลปู่แสะ ย่าแสะ กับการกราบไหว้บูชา
ประเพณีเลี้ยงดงหรือประเพณีผีปู่แสะ ย่าแสะ ไม่ได้มีแค่การประกอบพิธีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่ยังมีศาลสำหรับปู่และ ย่าแสะ เพื่อให้ผู้คนมากราบไหว้บูชา ได้อีกด้วย ศาลปู่และย่าแสะนับว่ามีความศักดิ์สิทธ์เป็นอย่างมาก เพราะประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดาและเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จึงทำให้คนไทยหลายคนนำปูนปั้นควายไปกราบไหว้บูชา บนบานสานกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหากใครที่ต้องการกราบไหว้บูชาปู่แสะ ย่าแสะนี้หรือมองหารูปปั้นควายในการนำไปกราบไหว้บูชา และการบน สามารถติดต่อได้ที่ปูนปั้นช่างบรรจง เราพร้อมรับทำปูนปั้นควาย ทุกขนาด ทุกแบบที่ต้องการสนใจโทรสอบถามช่างบรรจง โทร 081-909-1660